เมื่อคำว่า ‘ของมันต้องมี’ กลายเป็นต้นเหตุของหนี้เสีย คนรุ่นใหม่ควรรับมืออย่างไร-
ในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างเร็ว ความรู้ทางด้านการเงิน (Financial Literacy) ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสื่อโซเชียลมีเดียในปัจจุบันได้ผลักดันเนื้อหาคอนเทนต์ที่ทำให้ผู้เสพใช้จ่ายอย่างสิ้นเปลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินหลายประเภทก็ส่งเสริมให้ลูกค้าซื้อไปก่อนจ่ายทีหลังอย่างเช่น “บัตรเครดิต” ทำให้บางทีเราไม่รู้สถานะทางการเงินที่แท้จริงของตนเอง จนบางครั้งเราถูกสะกดด้วยคำว่า “ของมันต้องมี” จากภาพลวงตาทางรายได้ ซึ่งนำไปสู่การก่อตัวของ “ภาระหนี้”
ยิ่งภาระหนี้เพิ่มสูงขึ้นยิ่งทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดน้อยลง และยิ่งการควบคุมในการใช้จ่ายน้อยลง (Self Control) ก็ยิ่งส่งผลให้ภาระหนี้ดังกล่าวก่อตัวมากขึ้น จนกลายเป็น “หนี้เสีย” หรือ NPL (Non-Performing Loan)
โดยข้อมูล ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2565 ของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโรพบว่า มีตัวเลขหนี้เสียคงค้างอยู่ที่ 1.09 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็นสัดส่วนราวๆ 8.4% ต่อจำนวนลูกหนี้กลุ่มที่ไม่สามารถผ่อนได้ราวๆ 5 – 5.5 ล้านคน
อย่างไรก็ตามปัจจุบันตัวเลขหนี้ภาคครัวเรือนไทยอยู่ที่ 14.7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 88% ของจีดีพี (16.7 ล้านล้านบาท) นับว่าเป็นตัวเลขที่ยังคงถือว่าอยู่ในระดับอันตราย ซึ่งสอดคล้องกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ต้องการให้หนี้ครัวเรือนลงมาอยู่ในระดับ 70% ของจีดีพี
สะท้อนถึงความรู้ทางด้านการเงินคือสิ่งที่คนไทยควรตระหนัก และยกให้เป็นวาระแห่งชาติเลยก็ว่าได้ แล้วหนี้เสียที่ว่านี้มันคืออะไร และหากกลายเป็นหนี้เสียแล้วจะทำอย่างไรดีคิดว่าหลายคนอาจจะอยากรู้และสงสัย วันนี้ XSpring AMC จะพามาทำความรู้จักถึงหนี้เสีย กับปัญหาที่จะตามมา และวิธีการรับมือกับมันเมื่อเกิดปัญหา
NPL หรือ หนี้เสียคืออะไร?
- NPL ย่อมาจาก Non-Performing Loan หรือที่เรียกว่า “หนี้เสีย” คือหนี้ที่มีการผิดนัดชำระ หรือเกิดจากกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีความสามารถผ่อนชำระได้ตามกำหนด โดยมีการค้างชำระนานเกินกว่า 90 วัน
หากติดสถานะ NPL แล้วจะส่งผลกระทบกับใคร อย่างไรบ้าง?
- การติดสถานะ NPL จะส่งผลกระทบต่อลูกหนี้โดยตรง เพราะหากลูกหนี้มีแผนจะทำสินเชื่อในอนาคต สถาบันการเงินจะมีการตรวจสอบประวัติการทำสินเชื่อ ประวัติการผ่อนชำระเพื่อประกอบการพิจารณา หากเราพลาดพลั้งไปติดสถานะ NPL ก็อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ “ติดบูโร” เหมือนที่หลายคนพูดกัน
การ “ติดบูโร” หรือ เจ้า “เครดิตบูโร” มันคืออะไร สำคัญไฉนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง?
- เครดิตบูโร (Credit Bureau) หรือ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด คือ ศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ประวัติการชำระหนี้ และวินัยทางการเงินของเรา จะถูกจัดเก็บและสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้เป็นระยะเวลา 36 เดือน ซึ่งธนาคาร และสถาบันการเงินต่าง ๆ จะต้องตรวจสอบทุกครั้งเมื่อจะทำการปล่อยสินเชื่อ ทั้งนี้หากธนาคาร และสถาบันการเงินต่าง ๆ ไปตรวจสอบและพบว่าวินัย พฤติกรรมทางการเงินไม่ดี และผิดนัดชำระจนเป็นนิสัย การอนุมัติสินเชื่อต่าง ๆ ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหมือนเราติดทัณฑ์บนหรือคาดโทษทางการเงินไว้เรียบร้อยแล้วว่าเราไม่ได้มีความน่าไว้วางใจที่จะผ่อนชำระเงินได้ตามที่กำหนดไว้
หนี้ NPL มีกี่ประเภท? และต่างกันอย่างไร
- หนี้ NPL มี 2 ประเภท คือ 1) แบบมีหลักประกัน (Secured Loan) และ 2) แบบไม่มีหลักประกัน (Unsecured Loan) ข้อแตกต่างระหว่างหนี้ 2 ประเภทนี้ คือหนี้ NPL ที่มีหลักประกันจะมีสินทรัพย์ หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกัน โดยที่นิยมที่สุดจะเป็นหลักประกันจำพวกอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะที่ดิน บ้าน และคอนโดมิเนียม สำหรับหนี้ไม่มีหลักประกันนั้น จะไม่มีสินทรัพย์หรือทรัพย์สินใด ๆ มาค้ำเลย ซึ่งหนี้สินประเภทนี้ที่พบเห็นโดยทั่วไปได้แก่ หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด และหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล
ถ้าติดสถานะ NPL ไปแล้วจะทำอย่างไรดี
- การเจรจาเท่านั้นที่จะช่วยเราให้หลุดพ้นจากสถานะนี้ไปได้ แต่การเจรจานั้นไม่ใช่การไปเจรจาพูดคุยธรรมดาทั่วไปนะ แต่เป็นการเจรจาประนอมหนี้ โดยอาจจะมีการขอยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ออกไป ลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือน ขอจ่ายแค่เพียงยอดดอกเบี้ยไปก่อนจนประวัติการผ่อนชำระเราดีขึ้น พอให้เราได้มีเวลาหายใจหายคอบริหารรายได้และรายจ่ายของเราให้สมดุล แต่ถ้าในกรณีที่เราเป็นหนี้ NPL แบบที่มีหลักประกันก็อาจจะขายหลักประกันนั้นเพื่อปลดหนี้ก็ได้ ทั้งนี้การไม่หลบ ไม่เลี่ยง และเข้าเจรจาตามนัดที่ทางสถาบันการเงินเรียกเราไปนั้น จะเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด และส่งผลดีต่อประวัติ และพฤติกรรมทางการเงินของเราในอนาคตได้
เมื่อประวัติทางการเงินเสียไปแล้ว จะทำให้การขอสินเชื่อใหม่ในอนาคตจะยากขึ้นไหม
- คนเราเมื่อประวัติเสียจากการใช้จ่ายอย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจจะมีความสงสัยว่าเราจะโดนคาดโทษนานเท่าไหร่ จะสามารถหลุดพ้นมันได้อย่างไร ซึ่งจริง ๆ แล้ววิธีแก้ก็ไม่ได้ยากมากนัก เพียงแค่เราจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นขึ้นใหม่ โดยการสร้างประวัติใหม่ที่ดี การเริ่มเจรจากับธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่เราได้กู้ยืมอยู่ ลองพูดคุยหาแนวทางร่วมกัน อาจจะขอเพิ่มระยะเวลาในการชำระหนี้ ปรับโครงสร้างการชำระ และต้องแสดงให้ธนาคาร หรือสถาบันการเงินเห็นถึงความตั้งใจที่จะใช้หนี้ของเรา ทั้งนี้หากหนี้เป็นหนี้ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น รถยนต์ หรือบ้าน เราอาจจะต้องขายของสิ่งเหล่านี้เพื่อลดภาระ เพิ่มสภาพคล่องและเพิ่มกระแสเงินสดในกระเป๋าของเราให้ผ่านวิกฤตเหล่านี้ไปได้ สุดท้ายแล้วเมื่อเราทำการชำระหนี้ทั้งหมดเรียบร้อย ก็ควรเก็บหลักฐานการปลอดหนี้และไปตรวจสอบเครดิตของเราที่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโรว่าสถานะของเราได้เปลี่ยนไปหรือยัง ถ้าสถานะเปลี่ยนแล้วเราก็จะสามารถกลับมาขอสินเชื่อใหม่ได้ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งหมดหวัง เราสามารถแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งสร้างวินัยทางการเงินของเราใหม่ได้
ในกรณีเจรจาแล้วแต่ทำไม่ได้ตามที่ตกลงจนเกิดการยึดทรัพย์เกิดขึ้นจะต้องทำอย่างไร?
- อย่างคำพูดของ Warren Buffett ที่ว่า “เมื่อเราซื้อของที่ไม่จำเป็น ไม่นานคุณจะต้องขายของที่จำเป็น” การถูกยึดทรัพย์ในกรณีที่เป็น NPL แบบมีหลักประกัน ตัว NPL จะเปลี่ยนร่าง เปลี่ยนประเภทหนี้ พร้อมกับชื่อเสียงเรียงนามใหม่ว่า NPA (Non-Performing Asset) หรือทรัพย์สินรอการขาย ซึ่งการเกิดขึ้นของ NPA นั้นคือ การเปลี่ยนสภาพจาก NPL เป็น NPA โดยธนาคาร และสถาบันการเงินจะต้องยึดทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน เนื่องจากลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามกำหนดแล้วจึงเกิดกระบวนการขายทอดตลาด
เขายึดทรัพย์เราแล้วเอาไปไหน?
- เมื่อทำตามสัญญาจนถึงขั้นมีการยึดทรัพย์ และหลังจากผ่านกระบวนการขายทอดตลาดไปแล้วนั้น ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะเอาหลักประกันที่ได้ไปประกาศขายตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ของธนาคารหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งทาง XSpring ก็มีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้ด้วยเช่นกัน ภายใต้ชื่อ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เอ็กซ์สปริง เอ เอ็ม ซี จำกัด (XSpring AMC Asset Management Company Limited) หรือ XSpring AMC เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ซื้อหนี้เสียมาจากสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยเรามุ่งเน้นให้ลูกหนี้ที่มีประวัติหนี้เสียเข้ามาเจรจาต่อรอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ลูกหนี้และบริษัทเอง ทั้งนี้หากผู้ใดสนใจบ้านมือสองหรือคอนโดมิเนียมในทำเลที่ดี และราคาสมเหตุสมผล สามารถเข้ามาคุยกับเรา หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้เลยที่อีเมล [email protected] หรือโทร 02-030-3730
———————————————–
เขียนโดย : อมร อมรสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง